|
|
การจัดประชุมประชาคมหมู่บ้านและแผนปฏิบัติการประชุมประชาคมหมู่บ้าน เพื่อจัดทำแผนพัฒนา ท้องถิ่น พ.ศ.2561-พ.ศ.2565 และ พ.ศ.2566-พ.ศ.2570 <04/02/64>
องค์การบริหารส่วนตำบลดอยหล่อ นำโดย ว่าที่ร้อยตรี สุรพงค์ กาบวัง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดอยหล่อ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลดอยหล่อ และพนักงานเจ้าหน้าที่ ร่วมออกประชุมประชาคมหมู่บ้านและแผนปฏิบัติการประชุมประชาคมหมู่บ้าน เพื่อจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2561 - พ.ศ.2565) เพิ่มเติม เปลี่ยนแปลง แก้ไข ครั้งที่ 3 พ.ศ.2564 และจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2566 - พ.ศ.2570) เพื่อให้สอดดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนระดับชาติ แผนพัฒนาจังหวัด และแผนงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับแผนพัฒนาท้องถิ่นและนโยบายขององค์การบริหารส่วนตำบล ดอยหล่อ เพื่อรับฟังปัญหาและความต้องการของหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดอยหล่อ รวมทั้งแจ้งแนวทางการพัฒนาท้องถิ่น และเปิดโอกาสให้ประชาชนในแต่ละหมู่บ้าน จำนวน 26 หมู่บ้าน ได้เข้ามามี ส่วนร่วม ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมเสนอปัญหา ความต้องการของประชาชน และเพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565
โดยการประชาคมในครั้งนี้ ถือปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2561 โดยให้ประชาคมหมู่บ้านและราษฎรในพื้นที่แต่ละหมู่บ้านได้เสนอโครงการที่เห็นว่าเป็นปัญหาสำคัญ จากนั้นองค์การบริหารส่วนตำบลดอยหล่อ จะได้ดำเนินการรวบรวมโครงการบรรจุในแผนฯ ดังกล่าว ต่อไป
|
|
|
|
|
|
|
|
การปฐมนิเทศคณะทำงาน 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย <02/02/64>
วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 ว่าที่ร้อยตรี สุรพงค์ กาบวัง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดอยหล่อ พร้อมด้วยนายศิริธนาคร มูลศรีแก้ว ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลดอยหล่อ กล่าวต้อนรับและพบปะกับคณะทำงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (๑ ตำบล ๑ มหาวิทยาลัย) ณ ห้องประชุมผาช่อ 1 ผู้เข้าปฐมนิเทศประกอบด้วย กลุ่มบัณฑิต จำนวน 10 คน, กลุ่มนักศึกษา จำนวน 5 คน, กลุ่มประชาชนทั่วไป จำนวน 5 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 20 คน โดยมีคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เข้าร่วมปฐมนิเทศคณะทำงาน มีการประชุม ชี้แจงถึงบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ โดยแบ่งการทำงานออกเป็น 6 กลุ่มงาน ดังนี้
กลุ่มที่ 1 กลุ่มงานการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics)
กลุ่มที่ 2 กลุ่มงานข้อมูล / ติดตาม / เฝ้าระวัง COVID (ร่วมกับ ศบค.)
กลุ่มที่ 3 กลุ่มงาน Digitalizing Government Data
กลุ่มที่ 4 กลุ่มงานดำเนินกิจกรรม / โครงการยกระดับรายตำบล
กลุ่มที่ 5 กลุ่มงานพัฒนาทักษะอาชีพใหม่
กลุ่มที่ 6 กลุ่มงานการถ่ายทอดความรู้เทคโนโลยีนวัตกรรม
ซึ่งคณะทำงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (๑ ตำบล ๑ มหาวิทยาลัย) จะเริ่มปฏิบัติหน้าที่ ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นไป ระยะในการปฏิบัติงาน 1 ปี เพื่อเป็นการพัฒนาตำบล ดอยหล่อ โดยใช้งานวิจัยเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบต่อไป
|
|
|
|
|
|
|
|
ขอเชิญเยี่ยมชมศูนย์เศรษฐกิจพอเพียง บ้านไร่สว่างอารมณ์ หมู่ที่ 21 <28/01/64>
ขอเชิญเยี่ยมชมศูนย์เศรษฐกิจพอเพียงบ้านไร่สว่างอารมณ์ หมู่ที่ 21 ตำบลดอยหล่อ อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี นายอร่าม หล้าทิพย์ เป็นประธานศูนย์ฯดังกล่าว ปัจจุบันมีสมาชิก มากกว่า 80 ครัวเรือน ศูนย์เศรษฐกิจพอเพียงบ้านไร่สว่างอารมณ์ หมู่ที่ 21 แห่งนี้ จัดตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นโรงเรียนแห่งการเรียนรู้สำหรับเกษตรกร ให้ความรู้ทั้งด้านวิชาการเกษตรและการฝึกปฏิบัติจริง โดยนำเอาศาสตร์พระราชามาใช้ คือ พอเพียง มั่งคั่ง ยั่งยืน โดยมีสโลแกนที่ว่า กินทุกอย่างที่ปลูก ปลูกทุกอย่างที่กิน และภายในศูนย์ฯ มีการแบ่งเป็นฐานการเรียนรู้ออกเป็น 4 ฐาน ได้แก่
ฐานการเรียนรู้ที่ 1 การผลิตข้าวครบวงจร ผลิตข้าวพันธ์ต่าง ๆ เช่น ข้าวไรซ์เบอร์รี่, ข้าว ก.ย. 43 (สำหรับผู้เป็นโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง), ข้าวธัญโอสถ (รวมพญาข้าวเมืองไทยไว้ 9 ชนิด) มีกลิ่นหอม นิ่ม น่ารับประทาน และข้าวหอมปทุม
ฐานการเรียนรู้ที่ 2 ด้านปศุสัตว์ การเลี้ยงไก่ไข่, การทำหมูหลุม (หมูคุโรบุตะ) โดยการขุดหลุมเลี้ยงหมู เพื่อไม่ให้ส่งกลิ่นเหม็น ไม่มีน้ำเน่าเสีย เลี้ยงง่ายโดยใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ทำให้ใช้ต้นทุนการผลิตค่อนข้างต่ำแต่ได้กำไรดี
ฐานการเรียนรู้ที่ 3 การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ จากการใช้มูลสัตว์ เศษใบไม้ เศษอาหาร มาหมักเพื่อทำเป็นปุ๋ย
ฐานการเรียนรู้ที่ 4 การใช้สารชีวภัณฑ์ มีทั้งหมด 7 รส เพื่อป้องกันโรคและแมลง
นอกจากนี้ ศูนย์เศรษฐกิจพอเพียงบ้านไร่สว่างอารมณ์ หมู่ที่ 21 ยังจัดการพื้นที่ผสมผสานเป็นเกษตรทฤษฎีแนวใหม่ โคกหนองนา โมเดล เพื่อปลูกพืชหลากหลายชนิด เช่น หอมแดง สามารถบริโภคได้ทั้งหัวหอมและดอกหอม, ปลูกอ้อยอินทรีย์, ข้าวโพด, ฟักทอง, ผักขี้หูด, ถั่วฝักยาว, ผักเชียงดา, มะเขือเปราะเจ้าพระยา, กล้วยพระราชทานมะลิอ่อง, มะพร้าว, ส้มโอ, ผักตบชวา, พริกชี้ฟ้า, มะละกอฮอลแลนด์, ถั่วลายเสือพระราชทานจากพระราชินี, กระเทียม, มะนาว, กระเจี๊ยบ ฯลฯ
ศูนย์เศรษฐกิจพอเพียงบ้านไร่สว่างอารมณ์ 259 หมู่ที่ 21 บ้านไร่สว่างอารมณ์ ตำบลดอยหล่อ อำเภอ ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่ เปิดให้บริการเป็นประจำทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.30 16.30 น. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร. 084-0427612
|
|
|
|
|
|
|
|
พิธีรับมอบ-ส่งมอบ สถานีสูบน้ำบ้านม่อนฤาษี <25/01/64>
วันที่ 22 มกราคม 2564 โครงการชลประทานเชียงใหม่ ได้จัดพิธีรับมอบ-ส่งมอบ การถ่ายโอนภารกิจ โครงการก่อสร้างสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าพร้อมระบบส่งน้ำ บ้านม่อนฤาษี ให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลดอยหล่อ โดยมี ว่าที่ร้อยตรี สุรพงค์ กาบวัง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดอยหล่อ, นายศิริธนาคร มูลศรีแก้ว ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลดอยหล่อ และนายยุทธศาสตร์ สิงห์เปียง ผู้อำนวยการกองช่าง เป็นผู้ลงนามรับมอบในครั้งนี้ และมีนายนเรศ ธำรงทิพยคุณ เป็นสักขีพยานในการรับมอบ-ส่งมอบ โครงการก่อสร้างสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าพร้อมระบบส่งน้ำ บ้านม่อนฤาษี ซึ่งโครงการดังกล่าว ก่อสร้างขึ้นมาเพื่อให้เกษตรกรในพื้นที่มากกว่า 1,900 ไร่ มีน้ำใช้ทางการเกษตรตลอดทั้งปี |
|
|
|
|
|
|
|
รับโอนพนักงานส่วนตำบล หรือพนักงานส่วนท้องถิ่นประเภทอื่น <22/01/64>
องค์การบริหารส่วนตำบลดอยหล่อ อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ มีประสงค์จะรับโอนพนักงานส่วนตำบล หรือพนักงานประเภทอื่น เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสายงานผู้บริหารที่ว่าง โดยประสงค์จะรับโอน จำนวน 1 ตำแหน่ง รายละเอียดตามรูปภาพที่แนบมา ดังนี้ |
|
|
|
|
|
|
|
โครงการปฏิบัติธรรม เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี <15/01/64>
วันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2564 ว่าที่ร้อยตรี สุรพงค์ กาบวัง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดอยหล่อ เข้าร่วมโครงการปฏิบัติธรรม เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ ๒ เมษายน ๒๕๖๔ ณ วัดม่อนห้วยแก้ว อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีนายเสน่ห์ สายเย็นใจ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับคณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่ คณะสงฆ์อำเภอดอยหล่อ และหน่วยงานต่าง ๆ นำพุทธศาสนิกชนจำนวนมาก เข้าร่วมโครงการฯ ดังกล่าว ในการนี้ พระครูสาธุกิจจานันท์
รองเจ้าคณะอำเภอดอยหล่อ เจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยน้อย เป็นประธานเปิดโครงการฯ
|
|
|
|
|
|
|
|
ประชุมโครงการธนาคารใต้น้ำ <12/01/64>
วันที่ 12 มกราคม 2564 ว่าที่ร้อยตรี สุรพงค์ กาบวัง นายกองค์การบริหาร ส่วนตำบลดอยหล่อ, นายศิริธนาคร มูลศรีแก้ว ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลดอยหล่อ ร่วมกับ กรมประมง จังหวัดเชียงใหม่ จัดการประชุมโครงการธนาคารใต้น้ำ เพื่อจัดสรรงบประมาณ ในการบริหารจัดการ การเลี้ยงปลา ผสมพันธุ์ปลา ให้แก่ หมู่ที่ 5 บ้านห้วยโจ้ โดยเป็นการช่วยเหลือประชาชนตำบลดอยหล่อ ให้มีรายได้เสริมต่อไป |
|
|
|
|
|
|
|
ทำความสะอาดบริเวณไหล่ทาง บ้านสันหิน หมู่ที่ 1 <08/01/64>
วันที่ 7 มกราคม 2564 ว่าที่ร้อยตรี สุรพงค์ กาบวัง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดอยหล่อ ได้รับการประสานงาน ขอความอนุเคราะห์ นำรถบรรทุกน้ำอเนกประสงค์ ขนาด 6,000 ลิตร เพื่อทำความสะอาดบริเวณไหล่ทาง บ้านสันหิน หมู่ที่ 1 ถนนหมายเลข 108 เชียงใหม่-ฮอด เนื่องจากมีเศษดินทรายจำนวนมาก ก่อให้เกิดฝุ่นละอองในขณะที่สัญจรผ่านไปมา ซึ่งเป็นอันตรายต่อการขับขี่ และเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ ทำให้ประชาชนบริเวณริมถนนดังกล่าว ได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก จึงมอบหมายให้ งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ฝ่ายบริหารทั่วไป สำนักปลัด ดำเนินการทำความสะอาดบริเวณดังกล่าว |
|
|
|
|
|
ชี้แจงนโยบายการปฏิบัติงานให้แก่ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย <07/01/64>
วันที่ 5 มกราคม 2564 งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลดอยหล่อ เรียกเข้าแถวรายงานตัวเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แก่ผู้บังคับบัญชา เพื่อชี้แจงนโยบายการปฏิบัติงานและซักซ้อมการปฏิบัติหน้าที่ในแต่ละวัน ประจำเดือนมกราคม 2564 เพื่อให้เตรียมพร้อมต่อการปฏิบัติงาน และพร้อมต่อการให้บริการประชาชนได้อย่างรวดเร็วทันเหตุการณ์ |
|
|
|
|
|
|
|
ประชาสัมพันธ์การชำระภาษีป้าย ประจำปี 2564 <07/01/64>
งานจัดเก็บรายได้ ฝ่ายการเงิน กองคลัง องค์การบริหารส่วนตำบลดอยหล่อ ขอประชาสัมพันธ์ การชำระภาษีป้าย ประจำปี 2564 ดังนี้
ภาษีป้าย ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย คือ เจ้าของป้าย โดยเสียเป็นรายปี ยกเว้นป้ายที่เริ่มติดตั้งหรือแสดงในปีแรก ให้เสียภาษีป้าย ตั้งแต่วันเริ่มติดตั้งหรือแสดงจนถึงวันสิ้นปี และให้คิดภาษีป้ายเป็นรายงวด งวดละ 3 เดือนของปี โดยเริ่มเสียภาษีป้ายตั้งแต่งวดที่ติดตั้งป้ายจนถึงงวดสุดท้ายของปี
งวดที่ 1 มกราคม มีนาคม = 100%
งวดที่ 2 เมษายน มิถุนายน = 75 %
งวดที่ 3 กรกฎาคม กันยายน = 50%
งวดที่ 4 ตุลาคม ธันวาคม = 25 %
ให้เจ้าของป้าย ซึ่งจะต้องเสียภาษีป้าย ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายตามแบบและวิธีการที่กระทรวงมหาดไทยกำหนดภายในเดือนมีนาคมของปี
อัตราภาษีป้าย
ป้ายประเภท 1
(ก) อักษรไทยล้วน ที่เคลื่อนที่หรือเปลี่ยนข้อความ (ป้ายไฟวิ่ง) อัตรา 10 บาท / 500 ตร.ซม. (ข) อักษรไทยล้วน (ป้ายติดตั้งทั่วไป) อัตรา 5 บาท / 500 ตร.ซม.
ป้ายประเภท 2
(ก) อักษรไทยปนกับภาษาอังกฤษ และปนรูปภาพหรือปนเครื่องหมายอื่น ที่เคลื่อนที่หรือเปลี่ยนข้อความ เครื่องหมาย หรือภาพอื่นได้ (ป้ายไฟวิ่ง) อัตรา 52 บาท / 500 ตร.ซม. (ข) อักษรไทยปนกับภาษาอังกฤษ และปนรูปภาพหรือปนเครื่องหมายอื่น (ป้ายติดทั่วไป) อัตรา 26 บาท / 500 ตร.ซม.
ป้ายประเภท 3
(ก) ป้ายไม่มีอักษรไทย และป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ ที่เคลื่อนที่หรือเปลี่ยนข้อความ เครื่องหมาย หรือภาพอื่นได้ (ป้ายไฟวิ่ง) อัตรา 52 บาท / 500 ตร.ซม (ข) ป้ายไม่มีอักษรไทย และป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ (ป้ายติดทั่วไป) อัตรา 50 บาท / 500 ตร.ซม.
ภาษีป้ายคิดเป็นรายปี อัตราภาษีป้ายขั้นต่ำ 200 บาท
|
|
|