ประวัติของ อบต. ข้อมูลทั่วไป
นโยบายนายก
โครงสร้าง อบต.
วิสัยทัศน์ และอำนาจหน้าที่
รายนามคณะผู้บริหาร
รายชื่อสมาชิกสภา อบต.
อัตรากำลังของ อบต.
สำนักปลัด
กองคลัง
กองช่าง
กองการศึกษา, ศาสนาและวัฒนธรรม
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
แผนยุทธศาสตร์หรือแผนพัฒนาหน่วยงาน
สถิติรายได้
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
วัด
แผนการขับเคลื่อนหน่วยงาน
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
การปฏิสัมพันธ์ข้อมูล
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
การดำเนินงาน
แผนยุทธศาสตร์หรือแผนพัฒนาหน่วยงาน
รายงานการกำกับติดตามการดำเนินงานและการใช้งบประมาณประจำปีรอบ 6 เดือน
รายงานผลการดำเนินงานประจำปี
การปฏิบัติงาน
คู่มือหรือมาตรฐานการปฏิบัติงาน
การให้บริการ
คู่มือหรือมาตรฐานการให้บริการ
รายงานผลการสำรวจความพึงพอใจการให้บริการ
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลดอยหล่อ
ข้อบัญญัติ
รายงานการกำกับติดตามการใช้จ่ายงบประมาณรอบ 6 เดือน
รายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
การจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุ
แผนการจัดซื้อจัดจ้างหรือแผนการจัดหาพัสดุ
ประกาศต่างๆ เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุ
สรุปผลการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุรายเดือน
รายงานผลการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุประจำปี
การจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
แนวปฏิบัติการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
ช่องทางแจ้งเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
ข้อมูลเชิงสถิติเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบประจำปี
การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม
ช่องทางรับฟังความคิดเห็น
การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม
มาตรการเสริมสร้างมาตรฐานทางจริยธรรม
ประมวลจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ
การขับเคลื่อนจริยธรรม
การประเมินจริยธรรมเจ้าหน้าที่ของรัฐ
เจตจำนงสุจริตของผู้บริหาร
เจตจำนงสุจริตของผู้บริหาร
การมีส่วนร่วมของผู้บริหาร
นโยบาย No Gift Policy
ประกาศเจตนารมณ์นโยบาย No Gift Policy จากการปฏิบัติหน้าที่
การสร้างวัฒนธรรม No Gift Policy
รายงานผลตามนโยบาย No Gift Policy
การประเมินความเสี่ยงการทุจริตและประพฤติมิชอบประจำปี
การดำเนินการเพื่อจัดการความเสี่ยงการทุจริตและประพฤติมิชอบ
แผนป้องกันการทุจริต
แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต
รายงานการกำกับติดตามการดำเนินงานป้องกันการทุจริตประจำปี รอบ 6 เดือน
รายงานผลการดำเนินการป้องกันการทุจริตประจำปี
รายงานผลการสำรวจความพึงพอใจการให้บริการ
การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
นโยบายหรือแผนการบริหารทรัพยากรบุคคล
การดำเนินการตามนโยบายหรือแผนการบริหารทรัพยากรบุคคล
หลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
รายงานผลการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลประจำปี
การประเมินความเสี่ยงเพื่อการป้องกันการทุจริต
การประเมินความเสี่ยงการทุจริตและประพฤติมิชอบประจำปี
การดำเนินการเพื่อจัดการความเสี่ยงการทุจริตและประพฤติมิชอบ
มาตรการส่งเสริมความโปร่งใสและป้องกันการทุจริตภายในหน่วยงาน
มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน
การดำเนินการตามมาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน
งานภาษี
ข้อมูลสนามกีฬาในตำบลดอยหล่อ
ข้อมูลศาสนา วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น
นายก อบต. คุยกับประชาชน
ที่อยู่ติดต่อ
แผนที่ของ อบต.ดอยหล่อ
 
 

 

  
 



 ไขตำนานบทสวดเจ็ดตำนาน อานุภาพแห่งพระพุทธมนต์ <23/03/50>


โดยทั่วไปพุทธศาสนิกชน มักทำบุญโดยนิมนต์พระสงฆ์มาสวดสาธยาย บทพระพุทธมนต์ในพิธีมงคล หรือพิธีที่จัดขึ้นเพื่อความสุขความเจริญ เป็นสิริมงคลแก่การดำเนินชีวิตในวาระต่างๆ ซึ่งมักจะเรียกรวมกันว่าว่า พิธีเจริญพระพุทธมนต์


คำว่า “พระพุทธมนต์” หมายถึง พระพุทธพจน์ อันเป็นพระธรรมคำสั่งสอน ของพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้า ที่มีปรากฏในพระไตรปิฏกบ้าง เป็นคำที่แต่งขึ้นมาภายหลังบ้าง โดยถือกันว่าพระพุทธมนต์เป็นคำศักดิ์สิทธิ์ สามารถปัดป้องอันตรายต่างๆได้ จึงเรียกอีกอย่างว่า “พระปริตร” คำว่า”ปริตร” มีความหมายว่า คุ้มครองรักษา หรือเครื่องคุ้มครองป้องกัน ซึ่งบทพระพุทธมนต์ที่นิยมว่าศักดิ์สิทธิ์เท่าที่ปรากฏรวบรวมไว้มี 7 บท จึงเรียกว่า เจ็ดตำนาน (ตามปกติ คำว่าตำนาน จะหมายถึงเรื่องราวนมนานที่เล่ากันสืบๆ มา แต่ในที่นี้เป็นการเรียกพระปริตรบทๆ หนึ่งว่า ตำนาน ซึ่งมีผู้สันนิษฐานว่าน่าจะแผลงมาจากคำว่า ตาณ ในภาษาบาลีที่แปลว่า ต้านทานหรือป้องกันเช่นเดียวกับคำว่า ปริตร หรืออาจจะหมายถึงตำนานอันเป็นที่มาของแต่ละพระสูตรก็เป็นได้)

การสวดพระปริตรหรือเจ็ดตำนานนี้ เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศลังกา ราว พ.ศ. 500 ด้วยว่าชาวลังกาที่นับถือพุทธศาสนาในขณะนั้น ประสงค์ให้พระสงฆ์ช่วยเหลือตนให้เกิดสิริมงคล และป้องกันภยันตรายต่างๆ ด้วยการสวดมนต์และคาถาตามแบบอย่างพราหมณ์ ซึ่งมีความเชื่อว่าผู้ทรงเวทจะทำให้เกิดสิริมงคล และป้องกันภยันตรายแก่มหาชนได้ ด้วยเหตุนี้ พระสงฆ์ลังกาจึงได้คิดวิธีสวดพระปริตรขึ้น โดยเลือกเอาพระสูตร หรือคาถาที่สรรเสริญคุณพระรัตนตรัย อันเกิดขึ้นเนื่องด้วยเหตุการณ์ต่างๆ มาสวดเป็นมนต์ โดยการสวดครั้งแรกๆ ก็ขึ้นกับเหตุการณ์ที่ไปสวด เช่น ไปสวดพิธีมงคลก็ใช้มงคลสูตรสวด สวดให้คนเจ็บป่วยก็ใช้โพชฌงคสูตร ครั้นคนนิยมมากขึ้นก็คิดค้นพระสูตรต่างๆ มาสวดเป็นพระปริตรมากขึ้นเป็นลำดับ ต่อมาพระเจ้าแผ่นดินประเทศลังกา ก็ได้รับสั่งให้คณะสงฆ์ปรับปรุงพระสูตร และคาถาที่ใช้สวดพระปริตรขึ้นใหม่ให้เหมาะกับเหตุการณ์ เพื่อใช้ในพระราชพิธีหลวง โดยได้เพิ่มพระสูตรและคาถาให้มากขึ้น และเรียกว่า “ราชปริตร” แปลว่า มนต์คุ้มครองพระเจ้าแผ่นดิน ต่อมาประชาชนต่างก็นิยม ให้มีการสวดพระปริตรในพิธีของตนบ้าง จึงเกิดเป็นประเพณีสืบต่อกันมาจนปัจจุบัน

เจ็ดตำนานหรือพระปริตร ซึ่งหมายถึง มนต์อันเป็นเครื่องป้องกันภยันตรายต่างๆมีอยู่ด้วยกัน 7 พระสูตรคือ
1. มงคลสูตร ว่าด้วยเหตุที่จะทำให้เกิดสิริมงคล
2. รัตนสูตรว่าด้วยรัตนทั้ง 3 คือพระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์ สวดเพื่อปัดเป่าอุปัทวันตรายให้หมดไป
3. กรณีย เมตตสูตร ว่าด้วยการเจริญเมตตา ไปไหนมาไหนให้คน เทวดารักใคร่เมตตา
4. ขันธปริตร ว่าด้วยพระพุทธมนต์สำหรับป้องกันสัตว์ร้ายพวกอสรพิษ
5. ธชัคคสูตร ว่าด้วยการเคารพธงและการรำลึกถึงคุณพระรัตนตรัยทำให้หายหวาดกลัว
6. อาฏานาฏิยปริตร ว่าด้วยพระพุทธมนต์ที่สามารถป้องกันอุปัทวันตรายทั้งปวง
7. อังคุลิมาลปริตร ว่าด้วยมนต์ขององคุลีมาล ใช้ในงานมงคลหรือทำให้คลอดลูกง่าย

สำหรับความเป็นมาของพระสูตรแต่ละเรื่อง สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช) กระทรวงวัฒนธรรมได้สรุปส่วนหนึ่งจากหนังสือ”วรรณคดีขนบประเพณีฯ” ของอาจารย์เบญจมาศ พลอินทร์ ความว่า

- มงคลสูตร เกิดจากชาวชมพูทวีปต่างถกเถียงและตกลงกันไม่ได้ว่ามงคลคืออะไร จึงพากันไปทูลถามพระพุทธเจ้า ซึ่งพระพุทธองค์ก็ได้ให้คำตอบว่าสิ่งอันเป็นมงคลในชีวิตมี 38 ประการ หรือที่ชาวพุทธรู้จักในนาม มงคล 38 นั่นเอง เช่น ไม่คบคนพาล คบบัณฑิต วาจาเป็นสุภาษิต ฯลฯ ซึ่งธรรมอันเป็นมงคลนี้ พระพุทธเจ้าตรัสว่าไม่ว่ามนุษย์หรือเทวดาปฏิบัติก็ล้วนเป็นสิริมงคลแก่ตัวทั้งสิ้น

- รัตนสูตร เล่ากันว่าครั้งหนึ่งเมืองไพสาลี เกิดทุพภิกภัยฝนแล้งข้าวยากหมากแพง คนล้มตายเพราะความอดอยาก ประชาชนก็ไปร้องต่อพระเจ้าแผ่นดิน พระองค์ก็ทรงอนุญาตให้ประชาชนตรวจสอบพระองค์ว่าผิดธรรมข้อใดหรือเปล่า จึงเกิดเหตุเช่นนี้ ก็ปรากฏว่าไม่ผิดธรรมข้อใด จึงพากันไปอาราธนาพระพุทธเจ้ามาเมืองไพสาลี เมื่อพระพุทธองค์เสด็จมาถึงก็ปรากฏว่ามีฝนตกมาห่าใหญ่ ครั้นนั้นพระพุทธองค์ได้ตรัสเรียกพระอานนท์ให้มาเรียนรัตนสูตร อันมีเนื้อความสรรเสริญแก้ววิเศษ 3 ประการที่ไม่มีแก้วอื่นใดเสมอเหมือน คือพุทธรัตนะ ธัมมรัตนะ และสังฆรัตนะ และทำให้ผู้สวด ผู้ฟัง ผู้บูชาและผู้ระลึกถึงประสบแต่ความสวัสดี ซึ่งเมื่อพระอานนท์เรียนจากพระพุทธองค์ ก็นำบาตรน้ำมนต์ของพระพุทธเจ้าไปประพรมทั่วนครไพสาลี เมื่อน้ำพระพุทธมนต์ไปถูกพวกปีศาจๆ ก็หนีไป ไปถูกมนุษย์ที่เจ็บป่วย โรคเหล่านั้นก็หายสิ้น แต่นั้นมาชาวเมืองก็มีความสงบสุขตลอดมา

- กรณีย เมตตสูตร เป็นพระสูตรที่พระพุทธองค์ได้ตรัสสอนพระภิกษุ 500 รูปที่ได้เรียนกัมมัฏฐานแล้ว คิดจะหาสถานที่สงบบำเพ็ญธรรม เมื่อเดินทางไปถึงหมู่บ้านหนึ่ง ชาวบ้านเห็นก็เลื่อมใสยินดี นิมนต์ให้อยู่ปฏิบัติธรรมพร้อมทั้งสร้างกุฏิให้ ปรากฏว่าทำให้เทวดาที่อยู่ละแวกนั้นเดือนร้อน ไม่มีที่อยู่ จึงได้แสดงอาการน่ากลัวต่างๆ มาหลอกพระภิกษุ เมื่อพระภิกษุเห็นก็เกิดความหวาดกลัว ไม่อาจทำจิตใจให้เป็นสมาธิได้ จึงพากันไปเฝ้าพระพุทธองค์ พระองค์จึงได้สอนกรณีย เมตตสูตร อันมีเนื้อความว่าขอให้บุคคลเป็นผู้อาจหาญ ซื่อตรง ว่าง่าย อ่อนโยนไม่หยิ่งยะโส มีสันโดษ ไม่ประกอบกรรมที่ผู้รู้ติเตียน อย่าดูหมิ่นหรือหาทุกข์ให้กัน ฯลฯ เมื่อพระภิกษุกลับไปและนำไปสวดสาธยาย เหล่าเทวดาก็เกิดความเมตตาแก่พระภิกษุ มิได้สำแดงอาการอย่างใดอีก ทำให้พระภิกษุบำเพ็ญธรรมได้เต็มที่ พระสูตรบทนี้ถือเป็นบทแนะนำวิธีสร้างเมตตามหานิยม สร้างเสน่ห์แก่ตนเอง

- ขันธปริตร เกิดจากพระภิกษุรูปหนึ่งถูกงูกัดที่เท้า ทนพิษไม่ไหวถึงแก่มรณภาพ เมื่อพระพุทธองค์ทรงทราบเรื่อง จึงตรัสสอนให้พระภิกษุรู้จักแผ่เมตตาแก่สกุลพญางูทั้งสี่ คือ พญางูวิรูปักข์ พญางูเอราบถ พญางูฉัพยาบุตร และพญางูกัณหาโคตมะ ซึ่งมีเนื้อความว่า ไมตรีของเราจงมีแก่สกุลพญางูทั้งสี่ ตลอดทั้งสัตว์สองเท้า สี่เท้า อย่าเบียดเบียนเรา สัตว์ทั้งหลาย เช่น งู แมลงป่อง ตะขาบ เป็นต้นมีประมาณไม่มากเหมือนคุณพระรัตนตรัย เราทำการนอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่ ขอสัตว์ร้ายจงหลีกไป ในทางความเชื่อพระพุทธมนต์บทนี้ใช้ภาวนาป้องกันอสรพิษทุกชนิดได้ แต่กล่าวกันว่า ในงานพิธีทั่วไปไม่นิยมขึ้นต้นที่ “วิรูปกฺเข” เพราะเชื่อว่าเป็นบทปลุกผีให้ออกมาอาละวาด พระมักจะขึ้นที่ “อปปฺมาโณ”

- ธชัคคสูตร มาจากที่พระพุทธเจ้าตรัสเล่าให้พระภิกษุฟังว่า เมื่อเทวดากับอสูรรบกัน ท้าวสักกะซึ่งเป็นใหญ่ในหมู่เทวดา ได้แนะให้เหล่าเทวดาที่เกิดความกลัว หวาดสะดุ้ง หรือขนพองสยองเกล้า ได้แลดูชายธงของเทวราชทั้งหลาย เพื่อให้คลายจากความกลัว แต่พระพุทธองค์กล่าวว่าการดูธงของเหล่าเทวราช อาจจะทำให้หายหรือไม่หายกลัวก็ได้ เพราะเหล่าเทวดายังไม่ละกิเลส อย่างไรก็ยังต้องมีความหวาดกลัวอยู่ ดังนั้น จึงสอนให้พระภิกษุเชื่อและยึดถือพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งแห่งจิตใจ จะทำให้คลายจากความกลัว และรู้สึกปลอดภัยไม่หวั่นไหว บทนี้มักจะใช้สวดในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณต่อหน้าธงไชยเฉลิมพล

- อาฏานาฏิยปริตร เกิดเมื่อท้าวมหาราชทั้งสี่คือ ท้าวธตรฐ ท้าววิรุฬหก ท้าววิรูปักข์ และท้าวเวสสวัณ ตั้งใจจะไปเฝ้าพระพุทธเจ้า แต่เกรงว่าหากพวกอสูรรู้ว่า บนดาวดึงส์ไม่มีใครอยู่ ก็อาจถือโอกาสมากวน ซึ่งพวกตนก็อาจกลับมาไม่ทัน จึงได้จัดตั้งกองทหารไว้ 4 กองประกอบด้วยคนธรรพ์ ยักษ์ นาครักษาแต่ละทิศไว้ แล้วพากันไปประชุมที่อาฏานาฏิยนคร แล้วผูกมนต์เป็นอาฏานาฏิยปริตรขึ้น จากนั้นก็พากันไปเฝ้าพระพุทธเจ้าพร้อมบริวารเป็นจำนวนมาก แต่ปรากฏว่าบริวารของท้าวมหาราชเหล่านี้ ต่างก็มีปฏิกิริยาต่อพระพุทธองค์ต่างๆ กัน เพราะบ้างก็นับถือ บ้างก็ไม่เชื่อถือ จนเป็นเหตุให้บรรดาสาวกของพระพุทธเจ้า ที่ไปบำเพ็ญธรรมตามที่ต่างๆ ต้องถูกผี ปีศาจ ยักษ์ที่ไม่เลื่อมใสเหล่านี้รบกวน จนเจ็บไข้ได้ป่วย หรือเป็นอันตรายต่างๆ นานา ท้าวเวสสวัณจึงได้กราบทูล ขอให้พระพุทธองค์ รับอาฏานาฏิยปริตรไว้ประทานแก่สาวกของพระองค์ เพื่อป้องกันมิให้ยักษ์ และภูตผีปีศาจรบกวน ซึ่งเนื้อความเป็นการสรรเสริญพระพุทธคุณของพระพุทธเจ้า 7 พระองค์ และขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าเหล่านั้นด้วยกาย วาจา ใจ ไม่ว่าเวลานอน เดิน นั่งหรือยืน ขอให้พระพุทธเจ้าเหล่านั้นได้คุ้มครองรักษาให้พ้นภัย พ้นโรค และความเดือดร้อนต่างๆ ปริตรบทนี้ใครเจริญภาวนาอยู่เป็นนิตย์ เชื่อว่ายักษ์ ผี ปีศาจก็จะช่วยคุ้มครองให้มีความสุขความเจริญ

- อังคุลิมาลปริตร มี 2 ปริตรรวมกันคือ อังคุลิมาลปริตร และโพชฌงคปริตร โดยได้เล่าเรื่องขององคุลีมาล ซึ่งเดิมเป็นบุตรปุโรหิตนามว่า อหิงสกกุมาร ไปร่ำเรียนวิชากับอาจารย์ทิศาปาโมกข์ ด้วยความเก่ง และปัญญาดี เลยเป็นที่อิจฉาริษยาของศิษย์อื่น แล้วก็ไปยุยงอาจารย์จนหลงเชื่อ จะหาทางกำจัดอหิงสก โดยหลอกให้ไปฆ่าคนมาพันคน แล้วจะบอกวิชาให้ อหิงสกอยากได้วิชาก็ทำตามอาจารย์แนะ เที่ยวไล่ฆ่าคนไปทั่ว ฆ่าเสร็จก็ตัดนิ้วมาร้อยห้อยเป็นพวงมาลัย จนเป็นที่หวั่นกลัวของมหาชน และถูกขนานนามใหม่ว่า “องคุลิมาล” อันหมายถึงโจรที่ตัดนิ้วนั่นเอง องคุลิมาลฆ่าคนไปได้ถึง 999 คน ขาดอีกหนึ่งเดียว วันหนึ่งพระพุทธองค์ทรงทราบ และหยั่งรู้ด้วยญาณว่าโจรนี้ยังมีทางจะโปรดได้ ก็เลยเสด็จบิณฑบาตผ่านหน้าองคุลิมาลๆ เห็นก็ดีใจคิดว่าคราวนี้ได้นิ้วครบพันแล้ว แต่ปรากฏว่าเดินตามพระพุทธเจ้าเท่าไรก็ไม่ทัน ในที่สุดพระพุทธองค์จึงได้ตรัสสอนและองคุลิมาลก็ได้บวชเป็นสาวก แต่เนื่องจากฆ่าคนไว้มาก พอไปบิณฑบาตที่ไหนคนก็วิ่งหนีหวาดกลัว ทำให้องคุลิมาลไม่ได้ข้าวแม้ทัพพีเดียว วันหนึ่งมีหญิงท้องแก่ใกล้คลอดเห็นองคุลิมาลก็วิ่งหนีไปลอดรั้วด้วยความกลัว แต่ลอดไม่ได้ ทำให้ต่อมาเกิดความลำบากในการคลอดลูก บรรดาญาติจึงต่างปรึกษากันและเห็นว่าองคุลิมาลคงไม่ฆ่าใครแล้ว และเป็นสาเหตุให้หญิงนี้คลอดยาก จึงนิมนต์พระองคุลิมาลมาเล่าสาเหตุให้ฟัง ท่านฟังแล้วก็ตั้งสัตย์อธิษฐาน ความว่า ตนเองเกิดมาไม่เคยคิดฆ่าสัตว์โดยเจตนา ด้วยความสัตย์นี้ขอให้ความสวัสดิ์จงมีแก่ครรภ์หญิงนั้น ก็ปรากฏว่าทำให้นางคลอดลูกได้โดยสะดวก พระปริตรบทนี้ ถือว่าสวดแล้วจะมีความสวัสดีและคลอดลูกง่าย นิยมสวดในพิธีมงคลสมรสด้วย

- โพชฌงคปริตร คำว่า โพชฌงค์ แปลว่า ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้ เป็นพระสูตรที่สวดร่วมกับองคุลิมาลปริตรรที่สั้นเกินไป ทำให้ฟังดูไม่มีน้ำหนัก จึงได้เพิ่มโพชฌงคปริตร ซึ่งมีคุณคล้ายกันในด้านแก้เจ็บไข้ได้ป่วยมาสวดต่อให้ยาวขึ้น โดยมีเรื่องเล่าว่าเมื่อครั้นพระมหากัสสปอาพาธหนักได้รับทุกขเวนาอย่างแสนสาหัส พระพุทธองค์ก็ได้เสด็จไปตรัสเทศนาโพชฌงค์เจ็ดคือ สติ ความระลึกได้ ธรรมวิจัย คือการวิจัยข้อธรรม วิริยะคือ ความเพียร ปีติ คือ ความเอิบอิ่มในธรรม ปัสสัทธิ คือ ความระงับ สมาธิ คือ ความตั้งใจมั่นและอุเบกขาคือ ความวางเฉย พร้อมทั้งแสดงอานิสสงค์แห่งการเจริญโพชฌงค์ พระมหากัสสปเมื่อได้ฟังก็เพลิดเพลินในธรรมหายอาพาธ ต่อมาพระโมคคัลลานะอาพาธ พระพุทธองค์ก็เสด็จไปแสดงโพชฌงคปริตร พระโมคคัลลานะก็หายอาพาธเช่นเดียวกับพระมหากัสสป และแม้แต่พระพุทธองค์เองเมื่อทรงประชวร ก็ตรัสให้พระมหาจุนทะแสดงโพชฌงค์ ๗ พระองค์ก็หายประชวรเช่นกัน พระสูตรนี้จึงถือว่าเป็นมนต์ต่ออายุ ใช้สวดต่ออายุคนเจ็บ

- ราชปริตร หรือเจ็ดตำนานอันเป็นพระพุทธมนต์ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ หลายคนอาจจะคิดว่าแค่สวดมนต์ทำไมถึงมีความศักดิ์สิทธิ์ หรืออานุภาพที่เป็นพลังให้ความคุ้มครอง ป้องกัน หรือช่วยขจัดปัดเป่าสิ่งอวมงคล รวมถึงภยันตรายต่างๆ ออกไปได้ และยังก่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตอีกด้วย ซึ่งเรื่องนี้ หากเราจะได้พิจารณาเนื้อความจากบทสวดแต่ละบทแล้ว จะเห็นว่าส่วนใหญ่ จะเป็นการสรรเสริญพระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์ เป็นการสอนให้ยึดพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง เป็นหลักธรรมในการดำเนินชีวิต สอนให้รู้จักชนะศัตรูด้วยคุณความดีและแผ่เมตตา สอนให้ไม่ประมาท สอนให้รู้จักเคารพนอบน้อมผู้รู้ ผู้เป็นแบบฉบับ เป็นต้น ซึ่งแม้เราจะฟังไม่บทสวดไม่เข้าใจทั้งหมด แต่การได้ยินได้ฟังสิ่งที่ดีงาม ก็ย่อมทำให้เรามีจิตเป็นกุศล และยิ่งหากใครเข้าใจ และปฏิบัติตามคำสอนดังกล่าวก็ย่อมจะพบความสุข ความเจริญ ไปไหนมาไหนก็มีคนรักใคร่เมตตามากขึ้นแน่นอน

ขอขอบคุณข้อมูลข่าว : อมรรัตน์ เทพกำปนาท กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม


 

 
 
 Copy Right 2006-2024 โดย องค์การบริหารส่วนตําบล ดอยหล่อ - http://www.doilor.org
สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลดอยหล่อ อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่
เว็บไซต์ ออกแบบและพัฒนาโดย www.click2solutions.com